THE PAIN :
- จริงๆแล้วไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ก็รวยได้ทั้งนั้น แต่มหาเศรษฐี Top 10 ของไทย ทำไมยังเป็นคนหน้าเดิมๆ อยู่ ?
- ในช่วงปี 2014 – 2016 มีการเปลี่ยนแปลงอันดับ ที่น่าสนใจ เป็นข้อบ่งบอกว่า ธุรกิจอะไรกำลังมาแรง หรือธุรกิจอะไรกำลังสั่นคลอน
THE MIND :
พอดีผมได้มีเวลานั่งย้อนไปดูอันดับคนรวย ตั้งแต่ปี 2014 – 2016 มาแล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงของอันดับที่น่าสนใจ เลยอยากเอาแง่มุมที่เห็นมาเล่าให้ฟังดูว่าทิศทางของกลุ่มคนเหล่านี้ที่เป็นนักธุรกิจระดับ Top ของไทยจะเป็นยังไงต่อไปในอนาคต ก่อนเริ่มเรามาดูก่อนว่า ธุรกิจทั้ง 10 ของคนที่รวยที่สุด มาดูของปี 2016 กันก่อนว่ามีอะไรกันบ้าง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : Forbes Thailand
จากรูปด้านบนเห็นว่าส่วนใหญ่จะเป็น ด้านบริโภค ซึ่งก็ไม่ค่อยหน้าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะคนเราก็ต้องกิน และธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ด้านบนก็ค่อนข้างมีความหลากหลาย นั่นแปลว่าทุกคนสามารถโกยเงินจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจที่ตนเองถนัดได้เป็นอย่างดี คราวนี้เรามาหาความน่าสนใจของอันดับมหาเศรษฐีเหล่านี้กัน
THE POINT 1
แต่ลองสังเกตดูอันดับที่ #4 กระทิงแดง ($9.7B) กับ #5 ธุรกิจไทยประกันชีวิต ($4B) ตัวเลข จำนวนเงินต่างกันถึง 1 เท่าตัว สรุปได้ว่า ถึงธุรกิจที่ติด Top 10 เข้ามาจะมีหลากหลายธุรกิจก็จริง แต่มันยังมี Gap ช่องว่างระหว่างธุรกิจแบบปกติ กับ ธุรกิจประเภทบริโภค อยู่ค่อนข้างเยอะ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพอีกคน คือธุรกิจของ คุณตัน ICHITAN ที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มอยู่ไม่นานมาก (เทียบกับคนอื่นๆ) คุณตัน ก็ขึ้นมาติดอันดับ #48 ของมหาเศรษฐีประเทศไทยในปี 2016 ได้
หลังจากที่ดูปีปัจจุบันเสร็จสิ่งที่ผมทำต่อคือลองย้อนไปดูปีเก่าๆ ต่อว่ามีอะไรน่าสนใจมั้ย ? และนี่เป็นของปี 2015 ครับ โดยเปรียบเทียบคู่มากับปี 2016 เลย
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : Forbes Thailand, terrabkk.com
สำหรับ 4 อันดับแรก TOP 4 ของเราก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ยังเป็นคนเดิมอยู่ เรามาดูในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงกัน ปี 2015 #5 ช่อง 7 อันดับตกลงมา โดยมี #6 ธุรกิจไทยประกันชีวิตขึ้นไปแทนที่ ถ้าไปดูข้อมูลของจำนวนเงิน พบว่าทั้งปี 2015, 2016 เงินของ #6 ธุรกิจไทยประกันชีวิต มีจำนวนเงินเท่าเดิมคือ $4.0B แต่ว่า ธุรกิจของช่อง 7 เงินลดลงมาจาก $4.7B ในปี 2015 เหลือแค่ $3.3B ในปี 2016
THE POINT 2
การที่ธุรกิจสื่อ ช่อง 7 ตกต่ำลงมา น่าจะมาจาก 3 ข้อหลัก
1. ธุรกิจสื่อวิ่งจาก Offline ไปสู่ Online
2. TV Digital ใช้เงินลงทุนเยอะ แต่ผลลัพธ์ ROI อาจจะไม่ดีตามคาด
3. ช่วงธุรกิจทีวีต้องปรับตัวเยอะ อาจจะมีการใช้เงินลงทุนเพื่อทำการปรับตัวเยอะ
สรุปได้ว่าทีวีตอนนี้อาจจะเป็นขาลงและทางช่อง 7 ก็รู้ดีในเรื่องนี้เลยต้องทำทุกวิถีทางเอาตัวรอดในทุกๆด้าน เพราะถ้าไปลองอ่านตัวเลขย้อนหลังดู กำไรของ TV Digital ช่อง 7 ในปี 2015 ลดลงจากปีก่อนถึง 50%
THE POINT 3
ส่วนอันดับที่ #7 เบียร์สิง ปรับตัวลงมาสลับที่กับ #9 Duty Free ข้อนี้มองง่ายๆ น่าจะเกิดจากการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาโตสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2016 ยอดตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวก็โตเพิ่มอีก +4%ขอบคุณข้อมูลจาก : prachachat.net
ทำให้ธุรกิจที่ได้ผลพลอยได้อย่าง Duty Free เติบโตตามไปด้วย ส่วนเบียร์สิงห์ น่าจะเป็นการลงทุนใหม่ซักส่วนมาก จากที่เราได้ยินข่าวจะมีการเปิดตัวธุรกิจ Realesate และมีการออกสินค้าใหม่ ซึ่งน่าจะต้องใช้เงินลงทุนเยอะ
สุดท้ายแล้ว คือมาดูอันดับเปรียบเทียบของปี 2014 กัน อันนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เลย คือ TOP 4 ของเรามีการสลับตำแหน่งกันอย่างมีนัยสำคัญ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : Forbes Thailand, terrabkk.com
จากภาพปี 2015 เห็นว่าตระกูลจิราธิวัฒน์ เครือ Central ตกลงมาอยู่อันดับ #3 โดดเจ้าสัว CP และเจ้าสัวเจริญ แซงทางโค้งขึ้นไปอยู่อันดับที่ #1 และ #2
THE POINT 4
จากข้อมูลตัวเลขจำนวนเงินของ 3 อันดับแรกเป็น ดังนี้
ธุรกิจ | 2014 | 2015 | 2016 |
ตระกูลจิราธิวัฒน์ | $12.7B | $12.3B (-0.4) | $13.0B (+0.7) |
เจ้าสัว CP | $11.5B | $14.4B (+2.9) | $18.5B (+4.1) |
เจ้าสัวเจริญ ThaiBev | $11.3B | $13.0B (+1.7) | $13.7B (+0.7) |
พบว่าในปี 2015 ตระกูลจิราธิวัฒน์ โดยทั้ง 2 เจ้าสัวแซงทางโค้ง แปลว่าธุรกิจ Retail ค้าขายช่วงนั้น ยังปกติอยู่ ไม่ได้มีอะไร แต่นัยสำคัญอยู่ที่การมาของธุรกิจ CP และ ThaiBev ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริโภคทั้งสิ้น โดยเฉพาะ CP ที่โตขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็น่าจะมาจากการที่ CP เป็นธุรกิจที่ทำเรื่องการกิน การใช้ แถมยังมีทั้ง 7-11 อีก แล้วทีม Research ก็ไม่หยุดพัฒนาออก Product ใหม่ๆ อยู่ตลอด แม้ทาง Central เองจะมีการวางแผนไปเปิดธุรกิจที่ต่างประเทศ แต่การลงทุนอสังหา ใช้เงินเยอะ กว่าจะออกดอกออกผลคงต้องใช้เวลา
สรุป ธุรกิจของประเทศเราส่วนใหญ่คนที่รวยๆ ก็จะไม่หลุดธุรกิจอสังหา อาหาร เครื่องดื่ม แต่ด้วยความรวดเร็วของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้บางธุรกิจที่ยืนหยัดมาได้เป็นสิบๆ ปีก็สั่นคลอน เพราะฉะนั้น ใครปรับตัวเร็ว ตอบความต้องการของผู้บริโภค (Customer need) ได้ ก็จะอยู่ได้อย่างเติบโตและมั่นคง