เคล็ดลับที่คนไม่ค่อยรู้! การใช้ “ความเร็วในการพูด” เพิ่มโอกาสชนะใจลูกค้าทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่

0

THE PAIN : 

  • เวลาจะขายของหรือพรีเซ้นงาน ความเร็วในการพูดมีผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า
  • เรื่องของน้ำเสียง และจังหวะการพูด อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้การพูดเราดีขึ้น !

THE MIND : 

ไม่ว่าจะเป็นการพรีเซ้นงาน ขายงาน หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ต้องการจูงใจ หรือทำให้ผู้ฟังคล้อยตาม สกิลการพูด ค่อนข้างสำคัญมาก ถ้าเราตัดเรื่องเนื้อหาที่พูดออกไป มองไปที่เรื่องของเสียงจะมีอยู่ 3 อย่างที่ควรจะต้องควบคุมให้ดี

  1. น้ำเสียง (หนัก, เบา)
  2. จังหวะ (หยุด, เว้น)
  3. ความเร็ว (เร็ว, ช้า)

สำหรับทั้ง 3 ข้อ เราใช้การฝึกฝน ก็จะเก่งได้ แต่วันนี้จะนำ เคล็ดลับเรื่อง “ความเร็ว” มาเล่าให้ฟังกัน และใช้อย่างถูกต้อง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการสื่อสารเราได้อย่างดีกว่าเดิมไปอีก โดยใช้แค่ 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือ

1. ลูกค้าเจ้าใหม่หรือเจ้าเก่า ?
ข้อแรก ให้ตอบให้ได้ก่อนว่าลูกค้าที่เรากำลังจะเข้าไปคุย เป็นลูกค้าเจ้าใหม่ ที่ไม่รู้จักกันเลย หรือว่าเป็นเจ้าเก่า ที่รู้จักกันไว้เนื้อเชื่อใจกันดีแล้ว ที่ต้องบอกให้ได้ก่อนเพราะว่า ถ้าเป็นลูกค้าเจ้าเก่าที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เค้าจะไม่มองเราเป็นคนแปลกหน้า จะมองเราเป็นเพื่อนมากกว่า ความเร็วทางการพูดก็ต้องต่างกันกับ ลูกค้าที่เราเพิ่งเคยเจอครั้งแรก เพราะเค้าจะมองเราเป็นคนแปลกหน้า ที่เข้ามาพรีเซ้นให้ฟัง 

2. เจ้าใหม่ต้องพูดเร็ว แต่เจ้าเก่าต้องพูดช้า
ทัศนคติทั่วไป ของคนเราปกติ ถ้าเจอคนพูดเร็ว เราจะคิดว่าเค้าเป็นฉลาด สามารถสื่อสารออกมาได้รวดเร็ว คนพูดต้องเตรียมตัวมาแน่น และการที่พูดเร็ว สมองเราจะไม่มีเวลาคิดไตร่ตรอง อะไรมากเท่าไหร่ ถ้าคนพูดพูดเรื่องของข้อดี หรือพูดหลักการอะไรที่ดูเป็นเหตุ เป็นผลหน่อย ลูกค้าหรือผู้ฟังก็จะจบความคิดที่ว่า “เออ คนนี้เนี่ยน่าเชื่อถือนะ”

แต่กลับกันถ้าเราเจอคนพูดช้า เราก็อาจจะคิดว่า เค้าอาจจะคิดอยู่ว่าจะพูดอะไร เค้าอาจจะไม่ได้เข้าใจเรื่องที่เค้าพูดพอ หรือเค้ากำลังจะโกหกเราอยู่ สมองลูกค้าก็จะค่อยๆคิดตาม และหาข้อโต้แย้งจนสำเร็จ ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง

มันมีข้อจำกัดที่สำคัญ และคนมักจะไม่รู้อยู่นิดนึง!
ถ้าเราพูดกับลูกค้าใหม่ ที่เค้าไม่เคยเจอกับเราเลย การพูดเร็วจะได้ผลดี ตามหลักการที่บอกไว้ข้างต้น แต่ ถ้าเราต้องเจอกับลูกค้าเก่าที่รู้จักกันดี  เราไม่ควรจะพูดเร็วมาก เพราะเค้าให้ความเชื่อมั่นเรามาอยู่แล้ว การพูดเร็ว จะทำให้ลูกค้าเก็บและกลั่นกรองรายละเอียดข้อมูลที่เราพูดได้ไม่ดีนัก ดังนั้นถ้าเจอลูกค้าที่มีความเชื่อใจกันอยู่แล้ว ให้พูดช้า และหนักแน่น จะทำให้เราเป็นคนที่ดูจริงใจ และสร้างความน่าประทับใจได้มากกว่า

สรุป ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าคนที่เราพูดด้วยเป็นใคร เป็นคนที่เรารู้จักมาก่อน  หรือเป็นคนใหม่ที่เพิ่งเคยเจอกัน ถ้าเป็นคนใหม่ให้ใช้การพูดเร็ว (แต่ไม่ได้เร็วไฟแลบนะครับ แค่เร็วกว่าปกตินิดหน่อย) แต่ถ้าเจอกับลูกค้าที่คุ้นหน้ากันอยู่แล้ว ให้ใช้การพูดช้าและหนักแน่นแทน นี่ก็เป็นเทคนิค เรื่องการใช้ความเร็วในการพูด ให้เหมาะสมกับกลไกลการทำงานของสมอง ซึ่งถ้าใช้อย่างคล่องแคล่ว เราก็จะเพิ่มโอกาสชนะใจลูกค้าได้แน่นอน

 

Comments

comments

Share.

About Author

วิเคราะห์ แชร์แนวคิดและมุมมองด้านธุรกิจ การตลาด ด้วยแนวคิด แบบวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า ความรู้ทุกสิ่งไม่มีผิด ไม่มีถูก อยู่ที่ประสบการณ์ที่ได้เจอ และมุมมองที่กลั่นกรองออกมาได้

Leave A Reply